หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เชิญร่วมบริจาค สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ณ.วัดพระญาติการาม


ขอเชิญท่านผู้มีจิตรศัทธาร่วมบริจาค เพื่อสมทบทุนสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งหลังเดิมได้ชำรุดทรุดโทรเป็นอย่างมากแล้ว โดยการโอนเงินเข้าบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขา อยุธยา ชื่อบัญชี วัดพระญาติการาม(พระอุโบสถ) เลขที่บัญชี 322-4-98600-4 หลังจากที่ท่านได้โอนเงินแล้ว กรุณาโทรแจ้ง หรือแสกนใบสลิป ส่งมาทางอีเมล์ punp_un@hotmail.com กรุณาแจ้งชื่อและที่อยู่เพื่อทางวัดจะได้จัดส่งใบอนุโมทนาบัตรไปไห้ด้วยครับ


หรือจะมาบริจาคด้วยตนเองที่วัดพระญาติการาม ในวันเสาร์และอาทิตย์ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม รุ่น๑ ปี๒๔๙๔

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม รุ่น๑ ปี๒๔๙๔
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม รุ่น๑ ปี๒๔๙๔ ด้านหลัง

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม เนื้อเงินรุ่นฉลองอนุสาวรีย์หลวงพ่อกลั่น ปี๒๕๐๕

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม เนื้อเงินรุ่นฉลองอนุสาวรีย์หลวงพ่อกลั่น ปี๒๕๐๕
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม เนื้อเงินรุ่นฉลองอนุสาวรีย์หลวงพ่อกลั่น ปี๒๕๐๕ ด้านหลัง

 

พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ปี๒๕๔๑

 พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ปี๒๕๔๑
พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการาม ปี๒๕๔๑ ด้านหลัง

พระสมเด็จวัดพระญาติการาม รุ่น๑ ฝังตะกรุดทองคำ ปี๒๔๙๖

พระสมเด็จวัดพระญาติการาม รุ่น๑ ฝังตะกรุดทองคำ  ปี๒๔๙๖
 พระสมเด็จวัดพระญาติการาม รุ่น๑ ฝังตะกรุดทองคำ  ปี๒๔๙๖ ด้านหลัง

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น2นะกลม ปี๒๔๗๗

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น2นะกลม ปี๒๔๗๗
เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น2นะกลม ปี๒๔๗๗ ด้านหลัง

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น2นักกล้าม ปี๒๔๗๗

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น2นักกล้าม ปี๒๔๗๗

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น2นักกล้าม ปี๒๔๗๗ ด้านหลัง






พระพิมย์ขุนแผนอกใหญ่ฝังตระกุดทองคำหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม

พระพิมย์ขุนแผนแขนอ่อนฝังตระกุดทองคำ ด้านหน้า   
                             พระพิมย์ขุนแผนแขนอ่อนฝังตระกุดทองคำ ด้านหลัง
                             พระพิมย์ขุนแผนแขนอ่อนฝังตระกุดทองคำ ด้านล่าง

พระกริ่งหล่อโบราณ ลพ.กลั่น กริ่งโม่ง วัดพระญาติการาม


            พระกริ่งหล่อโบราณ ลพ.กลั่น  กริ่งโม่งพิมย์ฐานตรง ปี๒๕๐๔วัดพระญาติการาม

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น๓ ปี๒๔๘๓

  เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการามปี๒๔๘๓ รุ่น๓ หลังยันต์ตระก้อ เนื้อทองแดง

พระพิมย์ นางพญา ปี๒๔๙๖ วัดพระญาติการาม

พระพิมย์ นางพญา ปี๒๔๙๖ วัดพระญาติการาม
พระพิมย์ นางพญา ปี๒๔๙๖ วัดพระญาติการาม ด้านหลัง
 

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่นชาตรี ปี๒๕๐๗


                       เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่นชาตรี ปี๒๕๐๗ 



เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม ปี๒๕๓๖


               เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการามรุ่น๑ปี๒๕๓๖ เหรียญทองคำ

ตำแหน่งโค๊ตของวัดพระญาติการาม
ตำแหน่งจารตรงช่องห่วง 


 ตำแหน่งที่ตอกโค๊ตของเหรียญเงินปี๒๕๓๖

พระพิมย์ขุนแผนอกใหญ่ ฝังตระกุดทองคำ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม

                               พระขุนแผนพิมย์อกใหญ่ หลวงพ่ออั้นวัดพระญาติการาม

หลวงพ่อเภา วัดพระญาติการาม

หลวงพ่อเภา วัดพระญาติการาม พระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งของวัดพระญาติการามที่มีชื่อเสียงทางด้านปราบผี

หลวงพ่ออั้นวัดพระญาติการาม


พระครูศีล กิติคุณ หรือหลวงพ่ออั้น คันธาโร วัดพระญาติการาม ท่านเป็นเจ้าอาวาทองค์ที่2ของวัดพระญาติการาม เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม
พระ ครูศีลกิตติคุณ หรือหลวงพ่ออั้น คันธาโร 
พระ ครูศีลกิตติคุณ หรือหลวงพ่ออั้น คันธาโร วัดพระญาติการามท่านเป็นศิษย์เอกของ หลวงพ่ออุปชฌาย์กลั่น วัดพระญาติการาม ท่านได้มีส่วนสำคัญในการสร้างเหรียญเสมารุ่นแรกของหลวงพ่อกลั่น เมื่อปีพ.ศ.๒๔๖๙ ท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อกลั่นโดยตรง ท่านได้สร้างวัตถุมงคลในรูปแบบของเหรียญอาจารย์ คือ หลวงพ่อกลั่นไว้หลายรุ่น เช่น เหรียญกลม เหรียญยันต์ตะกร้อ เหรียญรูปไข่อนุสาวรีย์ เหรียญชาตรีทวีลาภ รูปหล่อโบราณ และเหรียญรูปเหมือนของตัวท่านเอง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๔,๒๔๙๖ เป็นทรงใบสาเก ๒๕๑๑ เป็นพิมพ์เสมาหลังเลข๑ และยังได้สร้าง พระพิมพ์สมเด็จ พระพิมพ์นางพญา พระพิมพ์ขุนแผนเคลือบ พิมพ์แขนอ่อน พิมพ์อกใหญ่ พระนาคปรกเคลือบ-ไม่เคลือบอุดผงสีชมพู เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๖ มีส่วนผสมของพระกรุเก่ามากมาย เช่นเศษของพระขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ชัยมงคล พระกรุวัดตะไกร พระโคสมอ ฯลฯ หลวงพ่ออั้น ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๖ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๕ อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๖ มรณะภาพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ.๒๕๑๒ รวมสิริอายุได้ ๗๖ ปี ๕๕ พรรษา พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที ๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๖ วัตถุมลคลรุ่นต่างๆที่หลวงพ่ออั้นท่านสร้างไว้ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์ครบ ทุกด้านไม่ว่าจะเป็น คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หลวงพ่ออั้น ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมากใครมาขอให้ท่านช่วยอะไรท่านช่วยได้ท่านช่วยหมด รับงานพุทธาภิเษกไม่ว่าใกล้-ไกลหลวงพ่อไม่เคยปฏิเสธ ผมเคยได้รับฟังการบอกเล่าจากลูกศิษย์รุ่นเก่าของหลวงพ่ออั้นถึงเรื่องการ ปลุกเสกวัตถุมงคลของวัดพระญาติ ลูกศิษย์ถามหลวงพ่ออั้นว่าทำไมหลวงพ่อถึงต้องเสกนานๆและเสกทุกวัน ได้รับคำตอบจากหลวงพ่อว่า ที่ต้องเสกนานๆก็เพราะว่าไม่ให้ขาดตกบกพร่องตรงไหนตรงไหนขาดก็เติมให้เต็ม เต็มแล้วก็ได้เพิ่มเข้าไปอีก

วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการามรุ่น๑ปี๒๔๖๙

                    

                      เหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม รุ่น๑ ปี๒๔๖๙
สุดยอดเหรียญพระเกจิของเมืองไทยเป็นเหรียญทองแดงที่แพงที่สุดในประเทศครับประวัติก็มีอยู่ว่า
เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติการามนี้พระอาจารย์อั้น ซึ่งต่อมาเป็นพระครูศีลกิตติคุณศิษย์เอกของหลวงพ่อกลั่น ได้ไปขออนุญาตสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อ เป็นที่ระลึกในปี พ.ศ. 2469 เพื่อแจกสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถของวัด พระญาติฯ หลวงพ่อจึงได้อนุญาตให้จัดสร้าง เหรียญรุ่นนี้ต่อมาเรียกว่าพิมพ์ขอเบ็ด เนื่องจากด้านหลังของเหรียญบริเวณยอดของยันต์เฑาะว์ที่เป็นขยัก มีรอยแกะแม่พิมพ์เกินออกมา ลักษณะแหลมงอคล้ายขอเบ็ด จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อพิมพ์ของเหรียญ เหรียญหลวงพ่อกลั่น รุ่นนี้ในสมัยนั้น ใครทำบุญ 1 บาท ก็ได้รับแจกหนึ่งเหรียญ ใครจะนึกถึงว่าในปัจจุบันจะมีราคาสูงมากขนาดนี้ เหรียญรุ่นนี้ถือเป็นเหรียญรูปหลวงพ่อกลั่นรุ่นแรก จึงมีความนิยมเล่นหากันสูงมาก และประสบ การณ์ของเหรียญรุ่นนี้นั้น ก็มีอยู่อย่างมากมาย เด่นในทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีเป็นเลิศ ใครมีต่างก็หวงแหนกันมาก
    ในการสร้างเหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติทางวัดสร้างเพื่อนำปัจจัยไป ซ่อมแซมอุโบสถที่เก่าและชำรุดมากใน พ.ศ. ๒๔๖๙ ด้านหน้าระบุไว้ว่า "หลวงพ่ออุปัชฌาย์ กลั่น วัดพระญาติ" "พ.ศ. ๒๔๖๗" ด้านหลังระบุ "ที่รฤกในการปฏิสังขรณ์อุโบสถ" มีการสร้างเหรียญหลวงพ่อกลั่นเนื้อพิเศษคือ เงินหน้าทอง ประมาณ ๑๒ เหรียญ เงินหน้านากประมาณ ๒๕ เหรียญ เงินประมาณ ๑๐๐ เหรียญ เหรียญทองแดงมีประมาณ ๓,๐๐๐ เหรียญ และในสมัยนั้นมีการจัดให้ทำบุญคือ เงินหน้าทองทำบุญ ๑๕ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ และเงินหน้านากทำบุญ ๑๐ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ เงินล้วนทำบุญ ๕ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ ส่วนทองแดง ทำบุญ ๑ บาท ได้รับ ๑ เหรียญ เงินทำบุญทั้งหมดนำไปซ่อมแซมอุโบสถ                 สำหรับจำนวนการสร้างเหรียญแต่ละชนิดนั้น มีอยู่ในบันทึกวัดพระญาติ โดยหลวงพ่ออั้น เจ้าอาวาสองค์ถัดมา ซึ่งหลวงพ่ออั้นเป็น ผู้ดำเนินการจัดสร้างให้หลวงพ่อกลั่นปลุกเสก
      ค่านิยมในปัจจุบัน ในเหรียญเงินหน้าทองและ หน้านาก เท่านั้นพบเจอในวงการ การเปลี่ยนมือกันค่อนข้างน้อยแต่ที่แน่ๆ ในเหรียญสวยๆ ต้องมีราคาประมาณ ๓-๔ ล้านบาทอย่างแน่นอน ส่วนเหรียญเงินหากสวยๆ ก็ต้องมีเกือบ ๓ ล้านบาทเช่นกัน เพราะเดี๋ยวนี้ขนาดเหรียญ เมื่อทองแดง กะไหล่ทองสวยๆ ล่าสุดซื้อขายกันในราคาประมาณ ๒ ล้านกว่าบาท แล้วจะไม่ได้ชื่อว่าเป็น เหรียญที่แพงที่สุดใน ประเทศไทยได้อย่างไร และยังมีเหรียญหลวงพ่อกลั่นที่ไม่ได้กะไหล่ทองอีกราคา ก็พอๆ กับเหรียญมีกะไหล่ทองเช่นกัน 
     เหรียญหลวงพ่อกลั่นที่นิยม เขาเรียกกันว่า รุ่น "ขอเบ็ด" เนื่องจากปลายยันต์ด้านหลัง มีลักษณะคล้ายๆ "ขอเบ็ดตกปลา" พบในเหรียญรุ่นแรก ซึ่งสร้างในปี ๒๔๖๙ เพียงรุ่นเดียว เหรียญรุ่นนี้มีการทำปลอมมากที่สุด ด้วยเหตุที่ราคาสูงถึง ๒-๓ ล้านบาท
     รุ่นถัดมานั้น ด้านหน้าใช้พิมพ์เดิมส่วนด้านหลังแกะพิมพ์ใหม่ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เสี้ยนตอง และพิมพ์หลังเรียบ เหรียญทั้ง ๒ รุ่นนี้ มีจุดสังเกตง่ายๆ คือ ด้านหน้ามีตุ่มก้อนที่เกิด จากการใช้บล็อกเดิมที่ขึ้นสนิม หรือที่วงการพระเครื่องเรียกว่า ขี้กลาก ทั้ง ๒ พิมพ์นี้(บางท่านว่าทันท่าน)สร้างหลังจาก ท่านมรณภาพไปแล้ว

วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พระพิมย์ขุนแผน หลวงพ่ออั้น พิมย์อกใหญ่ไม่เคลือบ

                                  ขุนแผนหลวงพ่ออั้นอกใหญ่ไม่เคลือบวัดพระญาติการาม
    ปกติทั่วไปไม่มีจารครับ แต่องค์นี้จารโดยพระอาจารย์เฉลิมวัดพระญาติการามครับ องค์นี้ก็ได้มาตอนบวชครับท่งวัดมีคำสั่งให้พระใหม่ในวัดทำความสะอาดกุฏิหลวงพ่ออั้นครับทำไห้ไปคนพบพระขุนแผนชุดนี้อยู่ในกุฏิหลวงพ่ออั้นพระในวัดเลยมีโอกาสได้เช่ามาเก็บไว้บูชาผมเลยนำไปไห้พระอาจารย์เฉลิมท่านจารให้ครับตอนนั้นก็มีไม่กี่องค์ครับที่ได้จาร
   สนใจบูชาพระเครื่องสายวัดพระญาติฯ คลิก

พระพิมย์ขุนแผนแขนอ่อนฝังตระกุดทองคำหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม


              พระขุนแผนหลวงพ่ออั้นวัดพระญาติการาม พิมย์แขนอ่อนฝังตระกุดทองคำ

ประวัติพระพิมพ์และพระคาถาอาราธนาคุณพระ โดยข้าพเจ้าพร้อมด้วยพระเฉลิมเเละพระน้องๆได้พระเคลือบเรือนเเก้ว(พระขุน เเผนเคลือบ วัดใหญ่อยุธยา"เช่าหากันหลักล้านบาท")และพระพิมพ์อื่นๆทั้งบริสุทธิ์และ ชำรุดจำนวนหนึ่ง เเละได้รวบรวมพระชำรุดได้ในวัดราชบูรณะ(กรุเเตกดังที่สุดของประเทศไทย)และ แห่งอื่นๆไว้จำนวนหนึ่งจึงคิดว่า พระพุทธรูปซึ่งต่อติดให้เป็นองค์ไม่ได้เเล้ว หากสร้างใหม่ให้เป็นองค์บริสุทธิ์ขึ้นอีก เพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาต่อไปคงจะเป็นกุศลบ้างไม่มากก็น้อย ประจวบกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับวันที่ 21 พฤศจิกายน 2496 นี้ วัดราชบูรณะ จะทำพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ โดยเฉพาะทางวัดได้รับทุนบูรณะปฎิสังขรจากท่านผู้มีจิตศัทธาบริจาคเท่านั้น ฉะนั้นจึงพร้อมด้วยท่านผู้ใจบุญสร้างพระพิมพ์ขึ้น(โดยใช้ผงเดิมที่ได้มา จำนวนนั้น)เพื่อทางวัดจักได้มอบให้เเก่ผู้สละทรัพย์ทำบุญเป็นที่ระลึกในการ สร้างวัดเเละเป็นพุทธนุสติอีกโสตหนึ่ง พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นคือ 1.พระพิมพ์เรือนแก้ว(พระขุนเเผน)พิมพ์ใหญ่เเละพิมพ์เล็ก ทั้งเคลือบเเละไม่เคลือบ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระพิมพ์ขุนเเผนเคลือบเเละไม่เคลือบของ เก่า นั้น 2.พระพิมพ์นางพระยา เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระนางพระยาที่บรรจุอยู่ในกรุวัดราชบูรณะนั้น 3.พระพิมพ์สมเด็จ โดยท่านผู้คุ้นเคยขอให้ถ่ายพิมพ์จากสมเด็จวัดระฆังองค์เดิม เพื่อจัดสร้างเป็นพระเครื่องชุดนี้ ***คำเตือนท่าน!!! พระพิมพ์ทุกๆพิมพ์ ผู้สร้างมิได้มีเจตนาจะปลอมเเปลง หรือทำให้ท่านหลงผิดเเต่ประการใด ****พิธีการสร้าง***** พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย นวะโลหะ (โลหะ 9 ชนิด) คือผงตะใบ ทองคำ นาค เงิน สำฤทธิ์ ทองแดง ทองเหลือง ทองขาว เหล็ก และ ชิน ข้าพเจ้าขอให้ความหมายย่อๆว่า= เพื่อความก้าวหน้า เพื่อก้าวสู่ความสุข ความเจริญ ของผู้มีไว้สักการะบูชา เพื่อก้าวตามรอยพระยุคลบาทของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คำสอนของพระองค์มีองค์9 พุทธคุณมีองค์9 ฯลฯ และ โลกุตตระธรรม9ประการ ทั้งนี้ประกอบด้วยพระวิเศษเเละพระชำรุดของท่าน ซึ่งร่วมการสร้างดังนี้คือ ท่านพระครูศีลกิตติคุณ(หลวงพ่ออั้น)วัดพระญาติ อยุธยา มีผงพุทธคุณ ผงมหาราช ดอกบัวองค์พระประทุม ว่าน108และอุปการะในการสร้างฯ +ท่านพระครูปลัดสุวัฒนคุณ วัดราชบูรณะ มอบพระพิมพ์พระนางพระยา พระผงสมเด็จพระศรีสมโพธิ์(ขรัวอีโต้)และอุปการะในการสร้างฯลฯ /+ พระมหาประยงค์มอบผงเนื้อไม้อาถรรพ์ เเละว่าน108 / พระอมร มอบพระพิมพ์ขุนแผน อยุธยา / +นายจำรัส ถวายพระพิมพ์ขุนแผนเคลือบกรุวัดใหญ่ฯ / + นายตุ้ย ถวายพระพิมพ์พระนางพระยา กรุวัดราชบูรณะ /+ นายบุญมี ถวายพระพิมพ์ท่ามะปรางค์ และพระนางพระยา ยังมีพระพิมพ์ขุนแผนกรุโรงเหล้า เเละมวลสารอีกมากมายฯ /+ หลวงพ่อโอภาสี บางมด มอบดินพระแท่น ดินพระพุทธบาท ศิลากาญน์ เเละทรายเเก้ว ให้ ร.ต.อ ชุบ เเละ นางอุไร ชาญกล มาร่วมในการสร้างพระพิมพ์ครั้งนี้ด้วยพระพิมพ์ทั้งหมดนี่ สร้างโดยการรวมถวายใจของพระวัดพระญาติ พระเณรวัดราชบูรณะ และกำลังทรัพย์ของญาติโยมในพระนคร โดยเจตนาจรรโลงพระพุทธศาสนา เเละเจริญศัทธาของท่านผู้ใจบุญ ไม่มีการหักค่าใช้จ่ายหรือรับทุนคืนโดยประการใด ฉะนั้นท่านที่บริจาคที่วัดราชบูรณะ ทางวัดจะจัดสร้างพระอุโบสถโดยเฉพาะ ท่านที่บริจาคที่วัดพระญาติส่วนหนึ่งจะจัดสร้างถังน้ำคอนกรีตไว้ในวัดพระ ญาติ ส่วนหนึ่งจะมอบสมทบทุนสร้างพระอุโบสถวัดราชบูรณะ บริจาคทำบุญ ได้รับพระพิมพ์เป็นที่ระลึก -บริจาค 100 บาทจักได้รับพระคะเเนนพิมพ์ได้พิมพ์หนึ่ง ซึ่งมีตะกรุดทองคำบริสุทธิ์เป็นที่ระลึก(100บาทเมื่อพ.ศ2496) -บริจาค 25 บาท จักได้รับพระขุนแผนเคลือบ 1 องค์ -บริจาค 10 บาท พระพิมพ์ใดพิมพ์หนึ่งเป็นที่ระลึก 1 องค์ 

  ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.thaprachan.com/shop_detail.php?shop_id=364&product_id=101236&c=1

สนใจพระเครื่องสายวัดพระญาติการาม คลิก 

                 พระขุนแผนหลวงพ่ออั้นวัดพระญาติการาม พิมย์แขนอ่อน

 

 

 

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติการาม

                                          หลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ วัดพระญาติการาม
   หลวงพ่อกลั่นท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระญาติการามหลวงพ่อกลั่นท่านเป็นพระที่มีความเมตตากรุณาเป็นอย่างมาก  
   ชาติภูมิของหลวงพ่อกลั่น ท่านเกิดที่บ้านอรัญญิก แต่ก่อนขึ้นกับอำเภอนครหลวง ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอท่าเรือ พ่อท่านชื่ออิน แม่ท่านชื่อชั้น มีพี่น้อง 4 คนหลวงพ่อกลั่นท่านเป็นคนโต พ่อแม่ท่านประกอบอาชีพการทำนา
   เยาว์วัย ท่านเป็นเด็กที่มีความเฉลียวฉลาดอย่างมาก รูปร่างหน้าตาคม รูปร่างโปร่งผิวขาวหมดจด ท่านได้เข้าเรียนหนังสือที่วัดประดู่ทรงธรรม พระอาจารย์ม่วงเป็นพระอาจารย์สอนพระอาจารย์รูปนี้มีวิชาความรู้มาก สมาธิแก่กล้า มีความรู้ทางธรรมสูง หลังจากที่เล่าเรียนเขียนอ่านแล้วท่านก็ไปช่วยพ่อแม่ท่านประกอบอาชีพทำนา ด้วยท่านเป็นผู้ที่ชอบในวิชากระบี่กระบอง ทั้งวิชาการต่อสู้ในเชิงมวย ท่านเป็นคนที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวและมีชั้นเชิงในการต่อสู้และชั้นเชิงในวิชา กระบี่กระบองเป็นอย่างมากเมื่อเรียนมาแล้วท่านยังฝึกฝนในชั้นเชิงการต่อสู้ ป้องกันตัวด้วยตัวของท่านเอง การชกมวยของท่านดังกระฉ่อนไปไกล อีกทั้งรูปร่างหน้าตาที่ดีเป็นเสน่ห์ต่อฝ่ายตรงข้าม ทำให้ท่านมีศัตรูมาก บางครั้งถึงขนาดดักทำร้ายท่านแต่ก็ถูกท่านปราบมาแล้วอย่างง่ายดาย ขนาดรุ่นใหญ่ยังต้องหลีกทางให้ท่าน ท่านไม่รังแกใครก่อนแต่ไม่ยอมให้ใครมารังแกท่าน
  หลวงพ่อกลั่น ต้องออกทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างทั่วไป เพื่อเลี้ยงชีพและส่งเสริมครอบครัวจนกระทั่งถึงวัยหนุ่ม ท่านใช้ชีวิตแบบตัวตนคนเดียว เร่ร่อน และรับจ้างทำงานไปเรื่อยๆ ทำให้ หลวงพ่ออุปัชฌาย์ กลั่น กลายเป็นคนแข็งแรง บึกบึนและเด็ดเดี่ยว ต้องต่อสู้จนมีชื่อเสียงในหมู่นักเลงว่าหนังเหนียว จนกระทั่งอายุครบ ๒๗ ปี ประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๗ จึงตัดสินใจบวช ณ วัดประดู่ทรงธรรม โดยมีท่านพระอุปัชฌาย์ม่วงเป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นพระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านธรรมและด้านมนต์อาถรรพณ์ต่างๆ ได้ฉายาว่า "ธมฺมโชติ" ซึ่งหมายความว่า "เป็นผู้สร้างในทางธรรมหรือเจริญรุ่งเรืองในธรรม" ท่านศึกษาอยู่สำนักวัดประดู่ทรงธรรมได้รับความรู้ต่างๆ เอาไว้อย่างมาก ประกอบกับท่านเป็นพระที่เอาการเอางานเป็นธุระในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก พระอาจารย์ หลวงพ่อม่วงเห็นว่าท่านสมควรจะไปอยู่ดูแลวัดพระญาติการาม ซึ่งตอนนั้นวัดกำลังขาดผู้ดูแลผู้นำในการบูรณะซ่อมแซมด้วยสภาพที่ก่อสร้างมา ช้านาน
  หลวงพ่อกลั่น เป็นพระพูดน้อย สมถะ ได้ศึกษาวิชาอาคม จากสำนัก วัดประดู่ทรงธรรม และสำนักอื่นๆ กิตติคุณที่ปรากฏเล่าขานกันมากคือ หลวงพ่อมีความเมตตาสูง แม้แต่อีกาตาแวว สัตว์ที่ปราดเปรียวไม่เคยไว้วางใจ ใครยังเชื่อง และพากันมาอาศัย อยู่ภายในวัดนับสิบๆ ตัว ทุกเช้า-เพล จะมาคอยหลวงพ่อกลั่น รอความเมตตา จากหลวงพ่อท่านเป็นกิจวัตรประจำวัน
  พระคุณเจ้า หลวงพ่อกลั่น ธรรมโชติ ผู้เป็นพระอาจารย์ชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของเมืองไทย เป็นพระอาจารย์ที่ปลุกเสกเหรียญรูปเหมือนของท่านด้วยตัวของท่านเอง เหรียญของท่านที่เป็นพิมพ์นิยมนั้นราคาแพงอันดับหนึ่งในเมืองไทย คือแพงเป็นล้านบาท จริงๆ ว่ากันไปแล้ว หลวงพ่อเงิน บางคลาน จังหวัดพิจิตร ท่าน ก็ดังมากแต่เหรียญรูปเหมือนของท่านยังไม่แพงเหมือนหลวงพ่อกลั่นเลย หรืออย่างหลวงพ่อศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งประวัติอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของท่านนั้นขลังมากมาย แต่ก็เป็นที่น่าแปลกอย่างมาก ที่เหรียญของท่านแพงสู้เหรียญของหลวงพ่อกลั่นไม่ได้ ด้วยชื่อเสียงของท่านที่โด่งดังไปทั่วไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระอาจารย์อื่นๆ ในลุ่มเจ้าพระยา
   เสด็จเตี่ย กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระองค์ท่านชอบวิชาอาคมขลังและด้านความรู้ทางสมุนไพร ยังเดินทางไปกราบท่านและฝากตัวเป็นศิษย์ท่าน ยังได้พบกับความขลังความศักดิ์สิทธิ์ให้ประจักษ์มาแล้ว
  หลวงพ่อกลั่นท่านเป็นพระที่ชอบความสงบเงียบ ชอบการเจริญกรรมฐานภาวนา ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ สมัยนั้นเมื่อเล่าเรียนวิชาแล้วต้องฝึกกรรมฐานให้แก่กล้า มีความรู้ทางด้านยาสมุนไพร ในการรักษาไข้รักษาโรคร้ายต่างๆ อีกทั้งถอดถอนคุณไสยร้ายได้อย่างดี ถึงจะสามารถรักษาตัวรอดพ้นไปได้
  ยุคของหลวงพ่อกลั่น พระเกจิฯ ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในกรุงเก่ามีด้วยกันหลายรูป หลวงพ่อปุ้มวัดสำมะกัน อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงพ่อรอด วัดสามไถ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ หลวงพ่อนวม วัดกลาง หลวงพ่อกรอง วัดเทพขันทร์ลอย หลวงพ่ออ่ำ วัดวงษ์ฆ้อง ท่านเก่งทางรักษาโรคด้วย สามารถมองหน้าคนก็รู้ว่าเป็นโรคอะไรท่านเก่งทางรักษาโรคขึ้นชื่อที่สุด นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อแพ วัด โตนด นครหลวง หลวงพ่อแพ วัดกลางคลอง เสนา ท่านก็เก่ง สำหรับพระอาจารย์ที่สร้างเหรียญเอาไว้เป็นเหรียญที่เก่ามากอีกท่านหนึ่งก็ คือ พระอุปัชฌาย์เย ท่านเป็นเจ้าคณะแขวง คือเจ้าคณะจังหวัดนั่นเองเหรียญท่านสร้าง พ.ศ. ๒๔๖๗
  ในอดีตจังหวัดนี้มีพระอาจารย์ที่รับการถ่ายทอดอาคมขลังจากสำนักต่างๆ ในยุคนั้นมีสำนักวัดตูม สำนักวัดประดู่ทรงธรรม ทั้งสองสำนักนี้ได้สืบทอดตำรามนต์อาถรรพณ์ และด้านธรรมะมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระอาจารย์ในยุคกึ่งพุทธกาลก็หลายสิบรูปด้วยกัน แม้แต่ทุกวันนี้และที่ผ่านมาพระอาจารย์หลายๆ ท่านก็รับการสืบทอดตำรามาจากสองสำนักนี้แหละ
  นอกจากท่านจะเก่งทางวิชาการกระบี่กระบองวิชามวยไทยในแบบการป้องกันตัวต่อสู้ ที่ยอดเยี่ยมแล้ว ท่านได้สนใจวิชาอาคมขลัง สมัยก่อนต้องหนังดีคงกระพันชาตรีใครตีไม่แตก จะเป็นวิชาเสกหมาก เสกใบพูลกินให้เหนียว เสกปูนพาดคออาพัดเหล้ากินให้หนังเหนียวหรือจะเสกฝุ่นเสกน้ำอาพัดน้ำลายกลืน ฟันแทงไม่เข้าตีไม่แตก นอกจากนี้ท่านยังเรียนวิชาปลาไหลเผือกจับไม่ติด เวลาเข้าประจันด้วยศัตรูที่มีมากกว่าจะจับอย่างไรก็หลุดไปหมด หากไม่แน่จริงแล้วท่านจะไม่ได้รับสมญานามอย่างแน่นอน
  หลวงพ่อกลั่นเป็นหนึ่งในสิบคณาจารย์ผู้มีพลังจิตสูงในปีพ.ศ. ๒๔๕๒ ที่จังหวัดนครปฐมได้มีการชุมนุมพระอาจารย์จากสำนักต่างๆ ทั่วประเทศไทย มีการทดสอบวิทยาคม และพลังจิตจากพระอาจารย์ทั่วประเทศที่ได้รับนิมนต์มาร่วมในพิธีร้อยกว่าองค์ ซึ่งแต่ละจังหวัดได้จัดให้พระอาจารย์เดินทางไปร่วมในพิธี โดยมีการทดสอบพระอาจารย์ต่างๆ ครั้งละสิบองค์ มีสมเด็จพระสังฆราช (เข) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ที่บริเวณ วัดพระปฐมเจดีย์ ในการทดสอบครั้งนั้นมีกติกาว่าให้เอาท่อนไม้มา ๑ ท่อน วางบนม้า ๒ ตัว แล้วเอากบไสไม้วางไว้บนท่อนไม้ แล้วประธานฝ่ายสงฆ์จึงบอกกติกาว่า อาจารย์องค์ใดสามารถทำกบไสไม้ให้วิ่งไสไม้ไปกลับได้โดยกบไม่หล่นทำการทดสอบ กันถึงสามวันสามคืน พระอาจารย์ส่วนมากสามารถใช้จิตบังคับให้กบวิ่งไปได้ แต่กลับไม่ได้ ที่ทำให้กบไสไม้ไปกลับได้ มีด้วยกัน ๑๐ รูป ในสิบรูปนั้นมีหลวงพ่อกลั่นเป็นหนึ่งในสิบนั้นด้วย
๑.หลวงพ่อกลั่น
๒.หลวงปู่บุญ
๓.หลวงพ่อวัดมะขามเฒ่า
๔.หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง
๕.หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
๖.หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
๗.หลวงพ่อทอง วัดเขากบทวาศรี นครสวรรค์
๘.หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
๙.หลวงปู่ยิ้ม หนองบัว
๑๐.หลวงพ่อจอน วัดดอนรวบ ชุมพร
ความขลังของหลวงพ่อกลั่นเป็นที่กล่าวขานกันมาช้านานทั้งในคนอำเภออุทัย อำเภอนครหลวง หลวงพ่อกลั่น หลวงพ่อนวม วัดกลาง หลวงพ่อกรอง วัดเทพจันทร์ลอย ทั้งสามท่านนี้นับถือกัน มักจะลองวิชากันเสมอๆ หลวงพ่อนวมนิมนต์ให้หลวงพ่อกลั่นไปร่วมงาน หรือเมื่อท่านไปเยี่ยม มักจะลองวิชากัน ถ้าแก้เคล็ดได้ ก็สามารถเข้าวัดได้ ทั้งสามท่านนี้นับถือกันมาก แต่ต้องยอมให้หลวงพ่อกลั่นก็พลังจิตของท่านวิชานะจังงังของท่านเหนือกว่ามาก ทั้งย่นหนทางก็เก่งกว่า
    ผู้ใหญ่ทองดี ผาสุขโอษฐ์   ปัจจุบันเสียชีวิตไปแล้ว ครั้งนั้นอายุประมาณเกือบ๙๐ปี เล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อกลั่นท่านมีสมาธิแก่กล้ามาก เราคิดอะไรท่านจะรู้หมด พอเห็นหน้าเท่านั้น ท่านจะทักทันที ใครไม่ดีถ้าเตือนไม่เชื่อ จะตายโหงทุกราย ผู้ใหญ่ทองดียังเล่าอีกว่าไปกราบท่าน ๔ ครั้ง สมัยนั้นไปทางเรือพายไป แจวไปบ้าง นอกจากนั้นแล้วถึงจะเดินด้วยเท้า สมัยนั้นมีคนเดินทางไปหาหลวงพ่อท่านไม่เคยขาด
    มีเรื่องเล่าถึงหลวงพ่อกลั่น อีกว่า ทุกเช้าหลังจากบิณฑบาตกลับมาแล้ว ท่านจะต้องโปรยข้าวส่วนหนึ่งให้นก กา หมา ไก่ และลิง ที่ออกมาคอย ให้ได้กินจนอิ่มทั่ว ชาวบ้านละแวกวัดจะได้เห็นหลวงพ่อกลั่นเดินอยู่ท่ามกลางฝูงสัตว์อยู่เป็นประจำทุกวัน ชาวบ้านและเณรในวัดจึงพากันสงสัยว่าทำไมสัตว์จึงชอบเดินตามท่าน เมื่อสงสัยจึงมีการทดลอง สอบหาความจริง โดยในวันหนึ่งเมื่อหลวงพ่อกลั่นไม่อยู่ ได้มีพระรูปหนึ่งแอบนำผ้าเหลืองของหลวงพ่อกลั่นมาปลอมเป็นหลวงพ่อทุกอย่าง แล้วทำเป็นเดินขึ้นมาจากเรือคล้ายว่าเพิ่งกลับจากวัด เมื่อเดินผ่านสัตว์ต่าง ๆ ที่เคยได้ข้าวและอาหารจากหลวงพ่อ สัตว์เหล่านั้นก็เฉย ๆ เพราะจำได้ว่าไม่ใช่หลวงพ่อ เป็นเพราะความเมตตาที่แผ่ออกมา ทำให้สัตว์เหล่านั้นจดจำหลวงพ่อได้เป็นอย่างดี เพราะพวกมันสัมผัสรู้ได้
   หลวงพ่อกลั่น เมื่อได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระญาติฯ ทุก ๆ เช้าเมื่อออกบิณฑบาต พระสงฆ์ในวัดจะต้องพายเรือไปตามลำน้ำ ซึ่งจะมีชาวบ้านมารอตักบาตรทั้ง 2 ฝั่ง และชาวบ้านจะรู้ว่าเรือลำไหนเป็นของหลวงพ่อกลั่น เพราะจะมีจุดสังเกตคือ เรือของหลวงพ่อกลั่นจะมีสีดำสนิท ปกคลุมตั้งแต่หัวเรือไปจรดกลางลำเรือ สีดำเหล่านั้นก็คือ "อีกา" นับสิบ ๆ ตัวที่มาเกาะเรือของหลวงพ่อ แล้วเวลาชาวบ้านมาลงตักบาตรแก่หลวงพ่อกลั่น "อีกา" ทั้งฝูงจะบินวนรอบ ๆ เรือไม่ไปไหน พอชาวบ้านตักบาตรเสร็จมันก็บินกลับมาเกาะเรือเหมือนเดิม ส่วนอาหารที่ชาวบ้านนำมาถวายหลวงพ่อกลั่นเต็มลำเรือนั้น เหล่าอีกาไม่แตะต้องเลย และพอเรือมาถึงวัด หลวงพ่อกลั่นจะให้ลูกศิษย์ขนสำรับขึ้นไปก่อน ตัวท่านจะอุ้มบาตรมาทีหลัง และจะมีอีกาอีกฝูงหนึ่งคอยรอรับท่านอยู่หน้าวัด มันจะบินรุมล้อมหน้าล้อมหลังเป็นกลุ่ม แทบไม่เห็นองค์หลวงพ่อกลั่น เมื่อได้เวลาฉันหลวงพ่อกลั่นจะจัดแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ เตรียมให้อีกา หมา และแมว อีกาฝูงใหญ่จะคอยรอท่าอยู่ห่าง ๆ พอหลวงพ่อนั่งเรียบร้อย เมื่อเปิดฝาบาตรจะลงมือฉัน อีกาทั้งฝูงก็จะกระโดดไปที่กองอาหารแล้วลงมือจิกกินทันที
    หลวงพ่อกลั่นท่านสื่อภาษาสัตว์กับอีกาเหล่านั้นได้ เพราะบางครั้งที่มันแย่งอาหารจิกตีกัน หลวงพ่อจะพูดด้วยเสียงเบา ๆ อีกาก็หยุดตีกันทันทีแล้วค่อย ๆ กินอย่างสงบ
    เรื่องราวของหลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ ภิกษุผู้มีความมหัศจรรย์อันประกอบไปด้วยเมตตาธรรม สามารถสื่อภาษาสัตว์ได้เข้าใจ หลวงพ่อท่านนี้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านมักแสดงอภินิหารให้ใครหลายคนได้ประจักษ์หลายต่อหลายเรื่อง เช่นว่ามีอยู่คราวหนึ่งอยู่ในช่วงออกพรรษา ซึ่งพระสงฆ์ตามวัดต่างๆนิยมออกธุดงค์เพื่อแสวงหาความสงบวิเวก และเพื่อโปรดพุทธบริษัทที่อยู่ในชนบทห่างไกลในถิ่นกันดาร หลวงพ่อกลั่นพร้อมด้วยคณะลูกศิษย์ท่านก็ออกธุดงค์เช่นกัน โดยตั้งใจจะไปนมัสการพระเจดีย์ในเมืองพม่า เมื่อคณะของหลวงพ่อรอนแรมเดินทางมาถึงแม่น้ำสะโตง ซึ่งกว้างใหญ่มาก แต่หาเรือแพข้ามฟากไม่ได้ หลวงพ่อกลั่นจึงต้องหาทางข้ามด้วยตัวเอง
    หลวงพ่อกลั่น จึงสั่งให้พระภิกษุที่ร่วมธุดงค์กับท่านเอาผ้าผูกตาให้หมดแล้ว เกาะจีวรตามท่านเป็นแถวเรียงหนึ่ง มีข้อห้ามคือไม่ให้พูดจากัน พอถึงฝั่งแม่น้ำฟากนั้นจึงบอกให้เอาผ้าผูกตาออก และน่าอัศจรรย์ที่พระแต่ละรูปไม่มีใครที่จีวรเปียกน้ำเลย และยังไม่มีใครรู้อีกว่า หลวงพ่อท่านพามาโดยวิธีใด อีกครั้งหนึ่งคือเมื่อคราวที่หลวงพ่อและพระลูกวัดพระญาติฯ รับกิจนิมนต์ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ครั้นใกล้เวลาที่เขานิมนต์ปรากฏว่าฝนตั้งเค้าทำท่าจะตก พระที่เดินทางไปกับหลวงพ่อเตือนให้ท่านรีบไปจะได้กันฝน แต่หลวงพ่อกลั่นกลับบอกให้พระเหล่านั้นไปก่อนล่วงหน้า ส่วนท่านจะตามไปทีหลัง และพอท่านออกจากวัดฝนก็ตกไล่หลังท่านเรื่อยไปจนถึงบ้านงาน แต่ตัวท่านกลับไม่เปียกฝนเลย และยังมีเรื่องเล่าถึงอภินิหารของหลวงพ่อกลั่นกันปากต่อปากว่า ในครั้งหนึ่งเมื่อสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นที่คลองข้างวัดของท่านมีปลาปักเป้าชุกชุม ลูกศิษย์วัดมาลงอาบน้ำจะถูกปลาปักเป้ากัดบ่อยๆ เดือดร้อนหลวงพ่อต้องหายามารักษา อยู่มาวันหนึ่งหลวงพ่อได้สั่งให้เด็กลงเล่นน้ำ เพื่อล่อให้ปลาปักเป้ากัด ปลาปักเป้าก็กัดติดเนื้อเด็กอย่างไม่ปล่อย แต่เด็กที่เป็นเหยื่อล่อปลากลับไม่มีบาทแผลซักคน จากนั้นหลวงพ่อกลั่นจึงเอาปลาเหล่านั้นใส่ลงไปในถังน้ำ แล้วเอามือจุ่มลงไปในถัง คนอยู่พักเดียวก็เอาปลาไปปล่อยริมคลองหน้าวัดเหมือนเดิม และเป็นที่อัศจรรย์คือตั้งแต่นั้นมาก็ไม่มีเด็กวัดถูกปลาปักเป้ากัดอีกเลย
    หลวงพ่อกลั่น ท่านเชี่ยวชาญวิชาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นวิชาฟันดาบหรือต่อสู้ด้วยเพลงอาวุธแบบโบราณ และยังมีวิชาด้านอื่นที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์อีกมาก จนบางครั้งมีคนมาขอพบเพื่อลองวิชา ซึ่งหลวงพ่อท่านก็รู้ด้วยญาณของท่านว่าคนๆนี้มาลองดีกับท่าน เพราะอยากรู้ว่าหลวงพ่อกลั่นจะแน่จริง
    เหมือนกิตติมศักดิ์ที่ร่ำลือกันหรือไม่ คราวหนึ่งได้มีนักเลงคนหนึ่งมาขอลองวิชากับหลวงพ่อด้วยปืนยาว หลวงพ่อก็ยินดีให้ทดสอบโดยโยนผ้าให้ยิง นักเลงผู้นั้นก็เหนี่ยวไกปืนยิงไม่ยั้ง แต่สิ่งที่ได้ยินมีเพียงเสียงไกปืนกระทบกับลูกกระสุนเท่านั้น ไม่มีเสียงระเบิดแต่อย่างใด คนลองดีถึงกับตะลึง แปลกใจแล้วพอหันกระบอกปืนยิงขึ้นฟ้า ลูกปืนกลับระเบิดเสียงดังสนั่น หลวงพ่อกลั่นบอกให้นักเลงผู้นั้นลองยิงอีกครั้ง ท่านก็โยนผ้าขึ้นฟ้า พอนักเลงผู้นั้นลั่นกระสุนออกไปก็ได้ยินเสียง "แชะ ๆ ๆ" เช่นเดิม ลูกปืนไม่ระเบิด นักเลงต่างถิ่นถึงกับก้มกราบหลวงพ่อกลั่นด้วยความศรัทธา และเป็นที่โจษขานกันทั่วอยุธยา
    หลวงพ่อกลั่น ท่านยังมีวิชาลูกเบา หรือวิชาชาตรี ซึ่งเป็นวิชาอยู่ยงคงกระพันวิชาหนึ่งขอท่าน วิชาลูกเบาหรือวิชาชาตรีไม่มีการสักอักขระยันต์ แต่มีการชักยันต์ซึ่งมีบทคาถาแขกภาวนา ในขณะที่ศิษย์ได้รับการถ่ายทอดจากครู อาจารย์ จะโดนทุ่มด้วยของหนัก เช่น ก้อนหินที่มีน้ำหนักมากๆ อย่างหินลับมีด แต่ผู้ที่ได้รับการครอบวิชาจะไม่รู้สึกเจ็บปวดเหมือนโดนทุ่มด้วยของเบาๆ แต่ถ้าไม่ได้เรียนวิชานี้มา ถ้าโดนทุ่มขนาดนี้อาจจะคอหักตาย ผู้ที่มาขอฝากตัวเป็นศิษย์จึงโดนทุ่มด้วยก้อนหินเป็นการขึ้นครูทุกคน
    อำนาจจิตของหลวงพ่อกลั่นนั้นมากมาย เรื่องนี้หลวงพ่ออั้นอุปัฏฐาก หลวงพ่อกลั่นได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงครั้งที่เรียนวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อกลั่นว่า ขณะที่เรียนกรรมฐานนั้นหลวงพ่อกลั่นได้ให้หลวงพ่ออั้นไปนั่งปฏิบัติในโบสถ์ ขณะนั่งอยู่หลวงพ่ออั้นมองเห็นหลวงพ่อกลั่นจากในนิมิตว่า เห็นท่านเดินจากกุฏิมานั่งอยู่ตรงหน้า คอยสั่งสอนว่าผิดตรงไหนควรทำอะไร อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องแปลกเพราะหลวงพ่ออั้นท่านก็รู้ว่า หลวงพ่อกลั่นท่านอยู่บนกุฏิ กำลังคุยเรื่องธุระกับญาติโยมที่มาหาท่าน แต่ท่านก็ยังแบ่งร่างมาสอนหลวงพ่ออั้นในโบสถ์ได้
    เหรียญของท่านสุดยอดเหนียว เมื่อยี่สิบปีก่อนนั้นชาวบ้านใกล้วัดคลองน้ำชา ใกล้วัดมเหยงค์ เดินทางไปหาเพื่อนกลับเอามืด ถูกคนร้ายดักยิงระยะห่างแค่สองเมตรเท่านั้น ด้วยปืนลูกซอง แต่ว่าลูกปืนยิงไม่เข้า และเมื่อหลายปีที่ผ่านมาที่ตำบลบ่อโพธิ์กำนันคนดัง ถูกหลานชายตนเองฆ่าตายเพราะผลประโยชน์คุมคลังสินค้าต่างๆ กำนันคนดังมีเหรียญหลวงพ่อกลั่น ถูกหลานตนเองยิงด้วยปืนพกหลายนัดไม่เข้า กำนันคิดไม่ถึงว่าหลานชายตนเองจะทำได้ พวกหลานชายรู้ว่ายิงไม่เข้า พอกำนันชักปืนมาจะยิงสวน พวกนั้นจับกำนันและตีด้วยไม้แล้วกระชากสายสร้อยทองคำหนักสิบบาทออกแล้วยิงด้วยปืนนัดเดียว กำนันตาย ตอนหลังพวกนั้นก็ตายจนหมด คนที่มีศีลธรรมประกอบแต่ความดีเรื่องตายโหงไม่มี ผู้ใหญ่ทองดีบอกว่า เคยได้เหรียญท่านมาและตะกรุดโทน ลูกอมผ้ายันต์ก็มอบให้บุตรชายไปจนหมด
     พระเครื่องของหลวงพ่อกลั่นที่ได้รับความนิยมอีกชนิดหนึ่งคือ รูปเหมือนหล่อโบราณ เป็นเนื้อโลหะทองเหลืองผสมขนาดหน้าตักประมาณ 2 ซม หลังค่อมถ้าใครไม่ใช้ความสังเกตแล้วอาจคิดว่าเป็นรูปหล่อของหลวงพ่อหินวัดหนองสนม ระยอง รูปหล่อของท่านเมื่อก่อนจะพบบ่อยตอนหลังหายากมาก ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ปลุกเสก หลวงพ่ออั้นท่านเป็นผู้สร้างปลุกเสกก็ตาม รูปหล่อของท่านมีประสบการณ์ทางแคล้วคลาดทางเหนียวอย่างมาก
    เหรียญหลวงพ่อกลั่น ธมฺมโชติ เป็นเหรียญที่มีอายุการสร้างถึง 70 ปี แล้วเป็นเหรียญที่เก่ามาก มีประสบการณ์สูง ผู้ใดได้ไว้บูชามักจะประสบความสำเร็จตามที่ต้องการ เป็นเหรียญที่มีเหรียญเก๊มาก มีการตบแต่งให้เนื้อหาเหมือนของเก่า แต่ผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วยังสามารถดูออก ถ้าหารุ่นที่แพงอันดับหนึ่งไม่ได้ก็ลองหารุ่นอื่นที่ราคาไม่แพงมาบูชาซีครับแล้วจะรู้ว่ามีประสบการณ์ขนาดไหน
    หลวงพ่อกลั่น มรณภาพเมื่อ พ.ศ.2477 เล่ากันว่าในวันที่หลวงพ่อกลั่นจะมรณภาพ อีกานับร้อยพันตัวมาออกันทั่ววัด ส่งเสียงระเบ็งเซ็งแซ่ พอหลวงพ่อสิ้นลม อีกาเหล่านั้นเงียบเสียงเป็นปลิดทิ้ง แล้วโผบินจากไปเป็นกลุ่มๆ ครั้นพอถึงวันฌาปนกิจร่างหลวงพ่อกลั่นรุ่งขึ้นมีการทำบุญอัฐิ อีกาของหลวงพ่อก็กลับมาอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้าย พวกมันบินมาเกาะที่เชิงตะกอน และบริเวณลานวัด จากนั้นก็พากันบินวนไปรอบๆอยู่ 3 รอบ และตั้งแต่วันนั้นก็ไม่มีใครได้เห็นอีกาที่วัดพระญาติการามอีกเลย
                            
                               สนใจพระเครื่องของวัดพระญาติการาม>คลิก<

สถานที่ต่างๆภายในวัดพระญาติการาม

วิหาญหลวงพ่อกลั่นหลวงพ่ออั้นและหลวงพ่อเภา พระเกจิชื่อดังของวัดพระญาติการาม เป็นที่ประดิษฐานของรูปเหมือนหลวงพ่อกลั่น หลวงพ่ออั้น และหลวงพ่อเภา เปิดไห้พุทธศาสนิกชนได้สักการะบูชาทุกวันและเป็นสะถานที่จำหน่ายวัตถุมงคลของวัดพระญาติการาม และยังเป็นที่ทำวัดเช้าของพระภิกษุสงฆ์อิกด้วย
ภายในวิหารหลวงพ่อทั้ง3องค์
 เจดีย์เก่าแก่ที่เห็นมาตั้งแต่เกิดครับหลวงพ่อเฉลิมท่านได้บูรณะจนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และสวยงาม

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของวัดพระญาติการาม

 วัดพระญาติการาม ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่15 ม.5 ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ดูแผ่นที่คลิก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระญาติ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีราว พ.ศ.2100 เดิมเรียกว่า วัดพบญาติ ซึ่งมีตำนานเล่าว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีหมู่บ้านด้าน ทิศตะวันออกของเมืองหมู่บ้านหนึ่ง ที่ลูกสาวชาวบ้านของที่นี่มักมีผิวพรรณดี หน้าตาสวยงาม ความเรื่องนี้ทราบไปถึงพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงเสด็จประพาสมายังหมู่บ้านแห่งนี้ พร้อมด้วยข้าราชบริพาร และทรงพอพระทัยบุตรสาวของชาวบ้านคนหนึ่ง จึงเอ่ย พระโอษฐ์ขอรับอุปถัมภ์ค้ำชูหญิงสาวคนนั้นผู้เป็นพ่อแม่ก็ยินดียกบุตรสาวถวาย ให้เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ กลับพระราชวังแล้ว จึงมอบให้อำมาตย์นำคานหามมารับหญิงสาวคนนั้น เมื่อนางจะไปก็ได้สั่งบอกพ่อและแม่ไม่ให้มีความห่วงใย อีกไม่นานจะกลับมาเยี่ยม ขณะขบวนคานหามเดินทางกลับ พวกญาติของหญิงสาวได้ไปดักรอพบเพื่อล่ำลา นางจึงได้พบญาติตรงบริเวณนั้น จนเมื่อนางได้ตำแหน่งมเหสีแล้ว จึงเสด็จฯ มาเยี่ยมญาติในหมู่บ้านเดิม และโปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณที่ญาติๆ มารอดักพบ ตั้งชื่อว่า วัดพบญาติ ต่อมาจึงกลายเป็น วัดพระญาติการาม ในปัจจุบันนี้เอง ปัจจุบันวัดพระญาติการามมี พระครูสังฆรักษ์ เฉลิม เขมทัสสี เป็นเจ้าอวาสองค์ปัจจุบัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อเฉลิม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออั้นเจ้าอวาสองค์ที่2ของวัดพระญาติการาม หลวงพ่อเฉลิมท่านเป็นพระที่มีความเมตตากรุณาเป็นอย่างมาก ท่านได้จัดสร้างกองทุนเพื่อการศึกษาไห้แก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากจนในเขตอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จนเรียนสำเร็จจบปริญญามาก็หลายต่อหลายคน แล้วครับ และเหรียญที่หลวงพ่อเฉลิมสร้างขึ้นมาก็มีหลายรุ่นมากๆครับที่เด่นๆก็จะมีเหรียญใบเสมารูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นรุ่นปี2536ที่มีประสบการทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาดจนเป็นที่เรื่องลือกันมาหลายต่อหลายคนครับ


พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถของวัดพระญาติการาม เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากหินทรายขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก ปางมารวิชัย สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางวัดจะเปิดพระอุโบสถไห้พุทธศาสนิกชนเข้าสักการะกราบไห้ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ครับ

ความเป็นมาของพระเครื่องในเมืองไทย

  ความเชื่อและศรัทธา เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ฉะนั้นจึงปรากฎว่า มีรูปลักษณ์เครื่องรางต่าง ๆ อยู่คู่กับมนุษย์มา ทุกยุคทุกสมัย เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องบำรุงขวัญ และกำลังใจ บางครั้งคนที่อยู่ในที่คับขัน อยู่ในระหว่างอันตราย เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนศรัทธา และยึดมั่น เป็นที่พึง ก็ทำให้มีสติมีความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้ฝ่าฟัน ให้พ้นอุปสรรค และอันตราย และด้วยกำลังใจที่เกิดขึ้น ทำให้บรรลุถึงความสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในสมัยใด จึงชอบที่จะมีเครื่องรางไว้สำหรับตัว
  คนไทยก็เช่นเดียวกัน ที่มีความเชื่อศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ความเชื่อและศรัทธา ที่มีอยู่แต่เดิม ก็พัฒนาเป็นสัญลักษณ์ มีรูปแบบที่เป็นศิลปะมากขึ้น กล่าวเฉพาะ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนิยม ไปบูชายังสถานที่ พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ได้พากันไปปีละมาก ๆ บรรดาพุทธศาสนิกชน ที่ไปยังสังเวชนียสถานดังกล่าว ก็ชอบหาสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุ นำกลับไปบูชา ที่บ้านเมืองของตน แต่เดิมไม่มีความประสงค์ จะสร้างเพื่อจำหน่ายเหมือนดังปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนคนไทย สร้างพระพิมพ์ขึ้น เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ให้ถาวร จึงสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก ฝังไว้ในพระเจดีย์ โดยถือว่า เมื่อพระเจดีย์ล้มสลาย หายสูญไปแล้ว ภายหลังมีใครไปขุดพบพระพิมพ์ ที่สร้างไว้ ก็จะได้รู้ว่า พระพุทธศาสนา เคยประดิษฐานในที่นั้น เป็นเหตุให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณสืบต่อไป 
  ภาย หลังผู้ที่สร้างพระพิมพ์ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตบะมีพลังจิต ได้คิดสรรหาวัตถุ ที่เป็นมงคล มาทำพระพิมพ์ และอธิษฐานจิต แผ่พลังให้สถิตอยู่ในพระพิมพ์นั้น ๆ ครั้นเมื่อมีเหตุร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดศึกสงคราม คนทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ก็หาพระพิมพ์ขนาดเล็ก ติดต้วไว้ ทำให้เกิดขวัญกำลังใจ จึงเกิดศรัทธา เชื่อถือเป็นพระเครื่อง สำหรับคุ้มครองให้พ้นจากภยันตรายต่อมา แม้ไม่ได้มุ่งหวัง ในเรื่องคงกะพันชาตรี แต่พระเครื่องที่สร้างขึ้น เป็นสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า และสร้างจากสิ่งที่เป็นมงคล ผู้ที่เคารพกราบไหว้ และปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธองค์ ก็ย่อมเกิดสิริมงคล แก่ตนเองเช่นเดียวกัน