หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของวัดพระญาติการาม

 วัดพระญาติการาม ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่15 ม.5 ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ดูแผ่นที่คลิก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระญาติ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีราว พ.ศ.2100 เดิมเรียกว่า วัดพบญาติ ซึ่งมีตำนานเล่าว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีหมู่บ้านด้าน ทิศตะวันออกของเมืองหมู่บ้านหนึ่ง ที่ลูกสาวชาวบ้านของที่นี่มักมีผิวพรรณดี หน้าตาสวยงาม ความเรื่องนี้ทราบไปถึงพระกรรณของพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์จึงเสด็จประพาสมายังหมู่บ้านแห่งนี้ พร้อมด้วยข้าราชบริพาร และทรงพอพระทัยบุตรสาวของชาวบ้านคนหนึ่ง จึงเอ่ย พระโอษฐ์ขอรับอุปถัมภ์ค้ำชูหญิงสาวคนนั้นผู้เป็นพ่อแม่ก็ยินดียกบุตรสาวถวาย ให้เมื่อพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ กลับพระราชวังแล้ว จึงมอบให้อำมาตย์นำคานหามมารับหญิงสาวคนนั้น เมื่อนางจะไปก็ได้สั่งบอกพ่อและแม่ไม่ให้มีความห่วงใย อีกไม่นานจะกลับมาเยี่ยม ขณะขบวนคานหามเดินทางกลับ พวกญาติของหญิงสาวได้ไปดักรอพบเพื่อล่ำลา นางจึงได้พบญาติตรงบริเวณนั้น จนเมื่อนางได้ตำแหน่งมเหสีแล้ว จึงเสด็จฯ มาเยี่ยมญาติในหมู่บ้านเดิม และโปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นตรงบริเวณที่ญาติๆ มารอดักพบ ตั้งชื่อว่า วัดพบญาติ ต่อมาจึงกลายเป็น วัดพระญาติการาม ในปัจจุบันนี้เอง ปัจจุบันวัดพระญาติการามมี พระครูสังฆรักษ์ เฉลิม เขมทัสสี เป็นเจ้าอวาสองค์ปัจจุบัน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหลวงพ่อเฉลิม ท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออั้นเจ้าอวาสองค์ที่2ของวัดพระญาติการาม หลวงพ่อเฉลิมท่านเป็นพระที่มีความเมตตากรุณาเป็นอย่างมาก ท่านได้จัดสร้างกองทุนเพื่อการศึกษาไห้แก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากจนในเขตอำเภอ พระนครศรีอยุธยา จนเรียนสำเร็จจบปริญญามาก็หลายต่อหลายคน แล้วครับ และเหรียญที่หลวงพ่อเฉลิมสร้างขึ้นมาก็มีหลายรุ่นมากๆครับที่เด่นๆก็จะมีเหรียญใบเสมารูปเหมือนหลวงพ่อกลั่นรุ่นปี2536ที่มีประสบการทางด้านคงกระพันและแคล้วคลาดจนเป็นที่เรื่องลือกันมาหลายต่อหลายคนครับ


พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถของวัดพระญาติการาม เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากหินทรายขนาดหน้าตักกว้าง 4 ศอก ปางมารวิชัย สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางวัดจะเปิดพระอุโบสถไห้พุทธศาสนิกชนเข้าสักการะกราบไห้ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ครับ

ความเป็นมาของพระเครื่องในเมืองไทย

  ความเชื่อและศรัทธา เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา มีมาแต่ดึกดำบรรพ์ ฉะนั้นจึงปรากฎว่า มีรูปลักษณ์เครื่องรางต่าง ๆ อยู่คู่กับมนุษย์มา ทุกยุคทุกสมัย เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นเครื่องบำรุงขวัญ และกำลังใจ บางครั้งคนที่อยู่ในที่คับขัน อยู่ในระหว่างอันตราย เมื่อนึกถึงสิ่งที่ตนศรัทธา และยึดมั่น เป็นที่พึง ก็ทำให้มีสติมีความมุ่งมั่น ที่จะต่อสู้ฝ่าฟัน ให้พ้นอุปสรรค และอันตราย และด้วยกำลังใจที่เกิดขึ้น ทำให้บรรลุถึงความสำเร็จ ด้วยเหตุนั้น ไม่ว่าจะเป็นคนอยู่ในสมัยใด จึงชอบที่จะมีเครื่องรางไว้สำหรับตัว
  คนไทยก็เช่นเดียวกัน ที่มีความเชื่อศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ ความเชื่อและศรัทธา ที่มีอยู่แต่เดิม ก็พัฒนาเป็นสัญลักษณ์ มีรูปแบบที่เป็นศิลปะมากขึ้น กล่าวเฉพาะ ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนิยม ไปบูชายังสถานที่ พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ได้พากันไปปีละมาก ๆ บรรดาพุทธศาสนิกชน ที่ไปยังสังเวชนียสถานดังกล่าว ก็ชอบหาสิ่งที่เป็นปูชนียวัตถุ นำกลับไปบูชา ที่บ้านเมืองของตน แต่เดิมไม่มีความประสงค์ จะสร้างเพื่อจำหน่ายเหมือนดังปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนคนไทย สร้างพระพิมพ์ขึ้น เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา ให้ถาวร จึงสร้างพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก ฝังไว้ในพระเจดีย์ โดยถือว่า เมื่อพระเจดีย์ล้มสลาย หายสูญไปแล้ว ภายหลังมีใครไปขุดพบพระพิมพ์ ที่สร้างไว้ ก็จะได้รู้ว่า พระพุทธศาสนา เคยประดิษฐานในที่นั้น เป็นเหตุให้น้อมรำลึกถึงพระพุทธคุณสืบต่อไป 
  ภาย หลังผู้ที่สร้างพระพิมพ์ เป็นผู้ที่บำเพ็ญตบะมีพลังจิต ได้คิดสรรหาวัตถุ ที่เป็นมงคล มาทำพระพิมพ์ และอธิษฐานจิต แผ่พลังให้สถิตอยู่ในพระพิมพ์นั้น ๆ ครั้นเมื่อมีเหตุร้ายต่าง ๆ เกิดขึ้น เช่น เกิดโรคภัยไข้เจ็บ หรือเกิดศึกสงคราม คนทั้งหลายที่นับถือพระพุทธศาสนา ระลึกถึงพระพุทธคุณเป็นที่พึ่ง ก็หาพระพิมพ์ขนาดเล็ก ติดต้วไว้ ทำให้เกิดขวัญกำลังใจ จึงเกิดศรัทธา เชื่อถือเป็นพระเครื่อง สำหรับคุ้มครองให้พ้นจากภยันตรายต่อมา แม้ไม่ได้มุ่งหวัง ในเรื่องคงกะพันชาตรี แต่พระเครื่องที่สร้างขึ้น เป็นสัญลักษณ์ แทนพระพุทธเจ้า และสร้างจากสิ่งที่เป็นมงคล ผู้ที่เคารพกราบไหว้ และปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธองค์ ก็ย่อมเกิดสิริมงคล แก่ตนเองเช่นเดียวกัน